เปรียบเทียบการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพผลผลิตของข้าวขาว ดอกมะลิ 105 (นาปี) ที่ได้รับปุ๋ยสูตรต่างกัน ปีที่ 2

สายงานการตลาด วิจัยและพัฒนา
บริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน)

ที่มาและความสำคัญ

ข้าวขาวดอกมะลิ 105 (ข้าวหอมมะลิ) จัดเป็นข้าวที่ได้รับความนิยมอย่างมากจากผู้บริโภค เนื่องจากมีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย อีกทั้งยังปลูกได้แค่เพียงปีละครั้งเท่านั้น ซึ่งพื้นที่เพาะปลูกที่มีศักยภาพผลิตข้าวให้มีคุณภาพและกลิ่นเฉพาะนั้นส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยเป็นแหล่งที่ได้รับเครื่องหมายบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือข้าวจีไอมีเพียง 23.60 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 66.45 ของพื้นที่ปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น พื้นที่เพาะปลูกข้าวส่วนใหญ่เป็นดินทรายและค่อนข้างมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ จึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างท้าทายสำหรับการเพาะปลูกข้าวขาวดอกมะลิให้ได้ผลผลิตในปริมาณที่สูงของเกษตรกร

อย่างไรก็ตาม ทางแผนกพัฒนาผลิตภัณฑ์ สายงานการตลาด วิจัยและพัฒนา บริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน) จึงได้มีการทำแปลงทดลองกึ่งสาธิต ซึ่งทำต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 2 เพื่อหาองค์ความรู้สำหรับการจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่ เพื่อยกระดับและเพิ่มการจัดการให้ได้ผลผลิตและกำไรต่อไร่สูงขึ้น เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่แก่เกษตรกรต่อไป

วิธีการทดลอง

ทำการทดลองในแปลง นายธงชัย สุธรรม ใช้พื้นที่ตำบลโพนโก อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ พื้นที่ประมาณจำนวน 4 ไร่ ทำการวิเคราะห์สมบัติของดินก่อนปลูกและหลังปลูกดังตารางที่ 2 ทำการปลูกโดยวิธีการหว่าน อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ จะแบ่งใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ใส่ในช่วงระยะการเจริญเติบโตทางต้นและใบ (20 วัน) และครั้งที่ 2 ใส่ในช่วงระยะสะสมอาหาร (ก่อนข้าวออกรวง 15 วัน) โดยวิธีการหว่าน (ตารางที่ 1)

สมบัติเบื้องต้นของดินก่อนปลูก

ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน 4.93 เป็นกรดจัดมาก เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย ปริมาณอินทรียวัตถุในดินเท่ากับ 0.29 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในระดับต่ำมาก ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่สกัดได้เท่ากับ 1.85 และ 10.50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม อยู่ในระดับต่ำมาก และปริมาณแคลเซียมและแมกนีเซียมที่สกัดได้เท่ากับ 235 และ 62.20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งอยู่ในระดับต่ำมากเช่นกัน (ตารางที่ 2)

ผลการทดลอง

ผลผลิตของข้าว

ตำรับที่ใช้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 พลังสอง ร่วมกับ 15-15-15 ดาวน้ำเงิน มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงที่สุด รองลงมา คือ ตำรับที่ใช้ปุ๋ยสูตร 18-12-6 พลังสอง ร่วมกับ 15-15-15 ดาวน้ำเงิน และมีแนวโน้มต่ำที่สุดในตำรับที่ใช้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 พลังสอง ร่วมกับ 15-15-15 ดาวแดง (625.33, 567.80 และ 494.00 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ) (รูปที่ 1)

องค์ประกอบผลผลิตของข้าว

ตำรับที่ใช้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 พลังสอง ร่วมกับ 15-15-15 ดาวน้ำเงิน มีแนวโน้มให้ปริมาณน้ำหนักแห้งสูงที่สุด รองลงมา คือ ตำรับที่ใช้ปุ๋ยสูตร 18-12-6 พลังสอง ร่วมกับ 15-15-15 ดาวน้ำเงิน และมีแนวโน้มต่ำที่สุดในตำรับที่ใช้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 พลังสอง ร่วมกับ 15-15-15 ดาวแดง (892.80, 857.87 และ 675.20 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ) ความสูง จำนวนต้นต่อตารางเมตร จำนวนรวงต่อกอ และความยาวรวง ก็มีแนวโน้มเช่นเดียวกับปริมาณน้ำหนักแห้ง (ความสูง : 130.33, 119.66 และ 114.70 เซนติเมตร ตามลำดับ; จำนวนต้นต่อตารางเมตร : 227.67, 213.00 และ 207.33 ต้น ตามลำดับ; จำนวนรวงต่อกอ : 4.81, 4.53 และ 4.47 รวง ตามลำดับ; ความยาวรวง : 24.00, 22.98 และ 22.56 เซนติเมตร ตามลำดับ)

ตำรับที่ใช้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 พลังสอง ร่วมกับ 15-15-15 ดาวแดง มีแนวโน้มให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด สูงที่สุด รองลงมา คือ ตำรับที่ใช้ปุ๋ยสูตร 18-12-6 พลังสอง ร่วมกับ 15-15-15 ดาวน้ำเงิน และมีแนวโน้มต่ำที่สุดในแปลงที่ใช้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 พลังสอง ร่วมกับ 15-15-15 ดาวน้ำเงิน (25.97, 24.43 และ 24.23 กรัม ตามลำดับ)

สำหรับจำนวนเมล็ดดีต่อรวง พบว่า ตำรับที่ใช้ปุ๋ยสูตร 18-12-6 พลังสอง ร่วมกับ 15-15-15 ดาวน้ำเงิน มีจำนวนเมล็ดดีสูงที่สุด รองลงมา คือ ตำรับที่ใช้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 พลังสอง ร่วมกับ 15-15-15 ดาวแดง และมีจำนวนเมล็ดดีต่ำที่สุดในตำรับที่ใช้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 พลังสอง ร่วมกับ 15-15-15 ดาวน้ำเงิน (138.13, 107.87 และ 97.47 เมล็ด ตามลำดับ) และจำนวนเมล็ดลีบต่อรวงก็มีแนวโน้มเช่นเดียวกับจำนวนเมล็ดดีต่อรวง (16.13, 15.27 และ 14.73 เมล็ด ตามลำดับ)


หมายเหตุ : ns = ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ; ตัวอักษรภาษาอังกฤษแสดงถึงความแตกต่างระหว่างปุ๋ยแต่ละสูตรด้วยวิธี Tukey HSD ที่ความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ (*) และที่ความเชื่อมั่น 99 เปอร์เซ็นต์ (**)

สรุปและวิจารณ์ผลการทดลอง

จากการทดลองปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ในแปลงข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 พบว่า แปลงที่มีการใส่ปุ๋ย
สูตร 16-8-8 พลังสอง + 15-15-15 ดาวน้ำเงิน ทำให้ผลผลิตต่อไร่มีแนวโน้มสูงที่สุด (625.33 กิโลกรัมต่อไร่) สอดคล้องกับจำนวนรวงต่อกอ ต้นต่อตารางเมตร และความยาวรวง (4.81 รวง, 227.67 ต้น และ 24 เซนติเมตร ตามลำดับ) ปริมาณน้ำหนักแห้ง (ฟาง) ก็มีแนวโน้มสูงที่สุด (892.80 กิโลกรัมต่อไร่) ซึ่งสอดคล้องกันกับความสูงและจำนวนต้นต่อตารางเมตร (130.33 เซนติเมตร และ 227.67 ต้น ตามลำดับ)

อีกทั้ง เมื่อนำมาคำนวณเปรียบเทียบ ต้นทุน และกำไรสุทธิ พบว่า แปลงที่ใช้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 พลังสอง + 15-15-15 ดาวน้ำเงิน ก็ยังคงมีกำไรสุทธิสูงที่สุดเช่นกัน (4,508.56 บาทต่อไร่) ซึ่งค่อนข้างสูงที่สุดหากเทียบกับการใช้ปุ๋ยในสูตรอื่น ๆ รองลงมา คือ การใช้ปุ๋ยสูตร 18-12-6 พลังสอง + 15-15-15 ดาวน้ำเงิน

จากข้อสังเกตุดังกล่าว พบว่า หากทำนาในบริเวณเดียวกันที่มีปริมาณน้ำขังเท่ากัน การใช้สูตร
15-15-15 ดาวแดง ในครั้งที่สอง (รับรวง) จะทำให้มีผลผลิตที่ค่อนข้างต่ำกว่าการใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ดาวน้ำเงิน ทั้ง 2 แปลง ทั้งนี้ เนื่องมาจากในปุ๋ยสูตร 15-15-15 ดาวแดง มีปริมาณไนโตรเจนในรูปของไนเตรตค่อนข้างสูง ซึ่งจะสูญเสียได้ง่ายในพื้นที่นาขังน้ำ โดย 15-15-15 ดาวแดงจะเหมาะกับการใช้ในพืชไร่ที่ไม่มีน้ำขังได้เป็นอย่างดี และเห็นผลรวดเร็วกว่า

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ปุ๋ย 16-8-8 พลังสอง หรือ 18-12-6 ในครั้งที่ 1 และใช้ 15-15-15 ดาวน้ำเงินในครั้งที่ 2 ก็ทำให้ผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 สูงเกิน 500 กิโลกรัมต่อไร่ได้ทั้งหมด เป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้เกษตรกรยกระดับผลผลิตในแปลง แต่การเพิ่มอัตราการใช้ปุ๋ยให้ได้ผลผลิตที่ดี จำเป็นจะต้องมีการเพิ่มการจัดการ เช่น การดูแลป้องกันโรค แมลง และวัชพืช เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา : (ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร, 2563)
(สถานการณ์การเพาะปลูกข้าว 2559/60 รอบที่ 1, 2559 )

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานของท่าน และเพื่อการมอบบริการที่ดีที่สุดจากเรา กรุณากดปุ่มยอมรับ คุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานได้ที่ การตั้งค่าคุกกี้ และ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า