สถานการณ์ทุเรียนในอาเซียน

ต้องยอมรับว่าสินค้าเกษตรของบ้านเรา ในตอนนี้คงไม่มีพืชชนิดไหนฮอตเท่า ทุเรียน อีกแล้ว เพราะราคาดี ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดส่งออกโดยเฉพาะประเทศจีนแน่นอนว่าเมื่อมีความต้องการสูงคู่แข่งที่ปลูกทุเรียนย่อมเพิ่มตาม ไม่ใช่แค่การขยายพื้นที่ปลูกในประเทศเท่านั้น แต่ภูมิประเทศในเขตอาเซียนนั้น เหมาะกับการปลูกทุเรียนเป็นอย่างมาก ในตอนนี้ประเทศที่ปลูกทุเรียนเยอะที่สุด ส่งออกเยอะที่สุดก็คือ ประเทศไทย ซึ่งพื้นที่ปลูกทุเรียน (จากข้อมูลล่าสุด) จาก 7 แสนไร่ เพิ่มขึ้นมาเป็น 1.4 ล้านไร่ ในระยะเวลาไม่กี่ปี ถือว่าเป็นเบอร์ 1 เรื่องการส่งออกทุเรียนของโลก แต่ปัจจุบันประเทศในแถบอาเซียนได้เริ่มมีการขยายพื้นที่ปลูกทุเรียนกันมากขึ้น โดยเรียงตามลำดับดังนี้

ประเทศไทยจะเสียเปรียบอะไรในอนาคต ถ้าพื้นที่ปลูกทุเรียนในอาเซียนเพิ่มขึ้น

ข้อเสียเปรียบประเทศไทยก็คือเรื่องพรมแดนที่ไม่ติดกับประเทศจีน ทำให้การขนส่งทุเรียนต้องอาศัยการขนส่งผ่านประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศไทยก็มีปัญหาเรื่องการขนส่งผ่านประเทศเพื่อนบ้านทุกปี ไม่ว่าจะผ่าน R9 R12 หรือ R3A โดยประเทศในอาเซียนที่มีพรมแดนติดกับประเทศจีนก็คือ เวียดนาม ลาว และเมียนมาร์

ทุกวันนี้ทุเรียนไทยที่ส่งไปประเทศจีนส่วนใหญ่จะเข้าไปทางลาวและผ่านเข้าทางเวียดนาม ซึ่งในทุกปีหน้าด่านที่เวียดนามจะเกิดปัญหาขึ้นเรื่อยๆ โดยปีที่แล้วจะเกิดปัญหาเรื่องไม่ให้ทุเรียนผ่านด่านเข้าไปยังประเทศจีน จนมีตู้ค้างตรงหน้าด่านกว่า 2,000 ตู้ และปีนี้ก็มีปัญหาอีกเช่นกัน ซึ่งจากการที่ประเทศไทยต้องส่งออกทุเรียนไปยังประเทศจีนโดยผ่านทางประเทศเวียดนาม ทำให้เป็นข้อได้เปรียบของประเทศเวียดนาม จนทำให้เกิดความคิดว่าในอนาคตถ้าประเทศเวียดนามมีผลผลิตทุเรียนออกมาในปริมาณและคุณภาพที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย และเจรจาให้สามารถส่งผลสดเข้าไปประเทศจีนได้ก็จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ราคาทุเรียนไทยตกต่ำ

ประเทศลาวเป็นประเทศที่ถือว่าเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ถึงแม้ว่าจะไม่มีพรมแดนติดทะเล แต่ก็มีพรมแดนติด 5 ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนนี้ประเทศจีนได้เข้ามาพัฒนาด้านโลจิสติกส์ของประเทศลาวทำให้การขนส่งของประเทศลาวมีความพัฒนาอย่างรวดเร็ว เช่น รถไฟความเร็วสูงที่มีเส้นทางการเดินทางไป-กลับระหว่างประเทศจีนและประเทศลาว วันละ 36 โบกี้ โดยแบ่งเป็นเที่ยวไป 18 โบกี้ และเที่ยวกลับอีก 18 โบกี้ รวมถึงยังมีศูนย์กระจายสินค้าของอาลีบาบาที่มาตั้งในประเทศลาวอีกด้วย ทำให้ในอนาคตประเทศลาวจะได้เปรียบมากในเรื่องของโลจิสติกส์ และประเทศไทยก็ต้องอาศัยประเทศลาวในการขนส่งผลผลิตที่ต้องการความเร็วในการขนส่ง โดยโครงการรถไฟความเร็วกลาง ลาว-จีน มีกำหนดเริ่มวิ่งในวันที่ 2 ธันวาคม 2564ในประเทศเมียนมาร์ก็มีนักลงทุนชาวจีนไปลงทุนปลูกทุเรียนเป็นจำนวนมาก ในอนาคตการส่งทุเรียนไปยังประเทศจีนก็คงไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด
นอกจากนี้ประเทศมาเลเซียที่หลังจากที่ส่งผลทุเรียนสดไปประเทศจีนได้แล้ว ในตอนนี้ก็กำลังสร้างท่าเรือที่ไปถึงประเทศจีนได้ภายใน 4 วัน เท่ากับของประเทศไทย และการมียุทธศาสตร์เรื่องทุเรียนอย่างชัดเจน ทำให้ประเทศมาเลเซียเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวสำหรับประเทศไทย และสำหรับประเทศกัมพูชาที่ตอนนี้สามารถส่งออกมะม่วงไปยังประเทศจีนได้แล้ว คิดว่าในอนาคตประเทศกัมพูชาจะส่งทุเรียนไปประเทศจีนได้ไม่ยากถ้าคุณภาพของทุเรียนสูสีกับของไทย

ในอนาคตทุเรียนจะล้นตลาดหรือไม่

จากที่ศึกษาในพื้นที่แล้วก็พูดคุยกับหลายๆ ฝ่ายในธุรกิจทุเรียน ทั้งล้ง ทั้งผู้ส่งออก แนวโน้มที่ทุเรียนจะล้นตลาดมีน้อยราคาทุเรียนในอนาคตอาจจะตกลงแต่ก็ยังอยู่ในระดับที่รับได้ ถึงแม้ว่าตอนนี้ทางจีนเองก็พยายามปลูกทุเรียน รวมถึงประเทศที่ได้กล่าวไปข้างต้น แต่ในประเทศไทยก็ยังมีหมอนทองที่ถือว่าเป็นจุดแข็งของทุเรียนไทยและยังเป็นที่ต้องการของตลาดค่อนข้างสูง และจากการไปศึกษาพูดคุยทั้งจากชาวสวน งานเสวนาต่างๆ รวมถึงผู้ประกอบการส่งออกต่างก็พูดเหมือนกันว่า สิ่งสำคัญที่จะทำให้ทุเรียนไทยไปได้ไกลกว่านี้ก็คือ ต้องอย่าตัดทุเรียนอ่อนเด็ดขาดส่วนที่เหลือเป็นเรื่องรอง ทั้งเรื่องการค้า เรื่องของคนซื้อปลายทาง ตราบใดที่เรายังรักษาคุณภาพรับรองว่าทุเรียนไทยก็ยังขายได้ เพราะกำลังการซื้อ รวมถึงความต้องการทุเรียนไทยก็ยังมีตลอด ปี 2562 มีรายงานว่าประเทศจีนมีการนำเข้าทุเรียนไทยกว่า 604,478 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,603.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ขอบคุณข้อมูล
เรื่องทุเรียนอาเซียนจาก ดร.วรชาติ ดุลยเสถียรผู้เชี่ยวชาญโซ่อุปทานด้านเกษตร CLMV
เลขาธิการสมาคมส่งเสริมธุรกิจเกษตรระหว่างประเทศ ฝ่ายเกษตร ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานของท่าน และเพื่อการมอบบริการที่ดีที่สุดจากเรา กรุณากดปุ่มยอมรับ คุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานได้ที่ การตั้งค่าคุกกี้ และ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า