ตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตข้าวพันธุ์พิษณุโลก 80
ที่มาและความสำคัญ
การใช้ปุ๋ยเคมีเป็นสิ่งจําเป็น และมีความสําคัญในการเพิ่มผลผลิตพืชต่อไร่ให้สูงขึ้น หากใส่ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารน้อยกว่าความต้องการของพืชก็จะทําให้พืชเจริญเติบโตช้า แคระแกร็น ให้ผลผลิตตํ่า หากใส่มากเกินไปหรือใส่ไม่ตรงตามความต้องการของพืช นอกจากจะมีต้นทุนสูงกว่าที่ควรจะเป็นแล้ว ยังอาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช ความต้านทานต่อโรค และแมลงศัตรูพืช และสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น สภาพอากาศร้อนหรือหนาวจัด ทําให้พืชได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง จนกระทบต่อการให้ผลผลิตของพืช ดังนั้นการใส่ปุ๋ยอย่างเหมาะสม และถูกวิธีจะเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยได้มากยิ่งขึ้น
การวิเคราะห์ดินช่วยให้เกษตรกรทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปริมาณธาตุอาหารพืชที่จําเป็น ลักษณะของดิน ความเหมาะสมของดินสําหรับพืชแต่ละชนิด ความเป็นกรด-เป็นด่างของดิน ปูนหรือวิธีปรับปรุงแก้ไขต่างๆ ให้ถูกต้องเหมาะสม พร้อมทั้งคําแนะนําชนิดและปริมาณของปุ๋ย เพื่อให้การใส่ปุ๋ยมีประสิทธิภาพ และความแม่นยำมากยิ่งขึ้น
ประเทศไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก นอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่มีการส่งออกข้าวเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จึงจำเป็นต้องปลูกข้าวให้ได้ผลิตผล และคุณภาพให้พอเพียงกับความต้องการบริโภค และความต้องการของตลาดด้วย ข้าวพันธุ์พิษณุโลก 80 เป็นข้าวเจ้าขาว มีจุดเด่นคือ ให้ผลผลิตสูง เสถียรภาพในการให้ผลผลิตดีในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ทรงต้นตั้งตรง ต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย คุณภาพเมล็ดดี เป็นท้องไข่น้อย มีปริมาณอมิโลสต่ำ (17.3%) นิยมปลูกในพื้นที่ลุ่มในเขตนาน้ำฝนภาคเหนือตอนล่าง ดังนั้น บริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายปุ๋ยเคมีตราหัววัว-คันไถ จึงจัดทำแปลงทดลองกึ่งสาธิตเพื่อทดสอบการประยุกต์ใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของผลผลิตข้าวพันธุ์พิษณุโลก 80
ขั้นตอนการดำเนินการทดลอง
ดำเนินการทดลองที่แปลงกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ตำบลไผ่รอบ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร ระยะเวลาในการทดลอง
ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2563 – เดือนธันวาคม 2563 สุ่มเก็บตัวอย่างดินก่อนปลูกเพื่อส่งวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ คุณสมบัติของดินและคำแนะนำการจัดการดินแสดงในตารางที่ 1
ผลการทดลอง
การเจริญเติบโต และผลผลิต
ความสูงของต้นภายใต้การใช้ปุ๋ยแนวทางบริษัทเท่ากับ 126.4 เซนติเมตร มีแนวโน้มสูงกว่าแนวทางเกษตรกรเท่ากับ 120.3 เซนติเมตร จำนวนต้นต่อกอภายใต้การใช้ปุ๋ยแนวทางบริษัทเท่ากับ 14.8 มีแนวโน้มสูงกว่าแนวทางเกษตรกรเท่ากับ 13.9 ในขณะที่จำนวนรวงต่อกอภายใต้การใช้ปุ๋ยแนวทางเกษตรกรเท่ากับ 12.6 ซึ่งมีแนวโน้มสูงกว่าแนวทางบริษัทเท่ากับ 11.4 ความยาวรวงภายใต้การใช้ปุ๋ยตามแนวทางเกษตรกรเท่ากับ 26.6 เซนติเมตร มีแนวโน้มสูงกว่าแนวทางบริษัทเท่ากับ 26.4 เซนติเมตร ผลผลิตภายใต้แนวทางบริษัทมีแนวโน้มสูงกว่าแนวทางเกษตรกรเท่ากับ 1,239 และ 1,092 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ (ตารางที่ 3) ทั้งนี้ เนื่องจากแนวทางบริษัทมีการเพิ่มปริมาณโพแทสเซียม หรือปุ๋ยตัวท้ายขึ้น 50 เปอร์เซ็นต์ ตามคำแนะนำจากค่าวิเคราะห์ดิน จึงส่งผลให้ปริมาณของผลผลิตสูงขึ้น เนื่องจากโพแทสเซียมเป็นธาตุอาหารที่สำคัญซึ่งช่วยกระตุ้นการสะสมอาหาร สร้างแป้งและน้ำตาล
ต้นทุน และกำไรสุทธิ
ต้นทุนการผลิตข้าวเมล็ดพันธุ์ภายใต้แนวทางบริษัทสูงกว่าแนวทางของเกษตรเท่ากับ 6,120 และ 6,018 บาทต่อไร่ ตามลำดับ ในขณะเดียวกันกำไรสุทธิแนวทางบริษัทสูงกว่าแนวทางเกษตรกรเท่ากับ 4,994 และ 3,769 บาทต่อไร่ (รูปที่ 1)
ทั้งนี้ เนื่องจากแนวทางของบริษัทที่มีการประยุกต์ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ทำให้ได้ผลผลิตในปริมาณที่สูงขึ้น ส่งผลให้ได้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นด้วย
สรุปผลการทดลอง
จากผลการทดลองเปรียบเทียบแนวทางการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรกับแนวทางการใช้ปุ๋ยที่บริษัทแนะนำ จะเห็นได้ว่าจำนวนรวงต่อกอและความยาวรวงภายใต้แนวทางเกษตรกรมีแนวโน้มสูงกว่าแนวทางของบริษัท ในขณะที่ความสูงของต้น จำนวนต้นต่อกอ จำนวนรวงต่อกอ และผลผลิตต่อไร่ภายใต้แนวทางของบริษัทมีแนวโน้มสูงกว่าแนวทางเกษตรกร และเมื่อเปรียบเทียบต้นทุน และผลกำไรสุทธิพบว่าการใช้ปุ๋ยในแนวทางของบริษัทจะมีต้นทุนที่สูงมากกว่าแนวทางเกษตรกร แต่ผลผลิตที่สูงขึ้นส่งผลให้มีกำไรสุทธิสูงมากกว่า ทั้งนี้ การใช้ปุ๋ยตามแนวทางบริษัทฯ ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 13.4% และมีผลกำไรเพิ่มขึ้น 32.5% เมื่อเปรียบเทียบกับแนวทางเกษตร