ศึกษาประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ สำหรับการเพิ่มผลผลิตของยางพาราในเขตภาคใต้

สายงานการตลาดวิจัยและพัฒนา บมจ. ไทยเซ็นทรัลเคมี
ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร

 

ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของประเทศไทย ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางพาราประมาณ 20 ล้านไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยในภาคใต้มีพื้นที่ปลูกยางพาราประมาณ 14 ล้านไร่ ยางพาราเป็นพืชซึ่งปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่ กระจายอยู่ในหลายจังหวัด ดินที่ใช้ปลูกในหลายพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกัน นับตั้งแต่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ปานกลางถึงสูง ยางพาราที่ปลูกในดินซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางและต่ำ จะให้ผลผลิตสูงขึ้นหากมีการบำรุงดินด้วยการใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้อง ร่วมกับการจัดการด้านอื่นๆที่เหมาะสม การใช้ปุ๋ยในยางพาราจะมีประสิทธิภาพ เมื่อทราบกลไกของระบบราก ลักษณะการเจริญเติบโตและการสะสมธาตุอาหารของพืช วงจรของธาตุอาหารในพื้นที่ปลูกสภาพดินและแนวทางการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน รวมทั้งความเข้าใจเรื่องปุ๋ยด้วย

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาถึงการตอบสนองของยางพาราต่อปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ ได้แก่ ปุ๋ยสูตร 15-7-18, 20-8-20 และ 21-7-18 ซึ่งผลการวิจัยที่ได้สามารถนำไปใช้อ้างอิงสำหรับการแนะนำส่งเสริมการใช้ปุ๋ยสำหรับเกษตรกรชาวสวนยางพาราต่อไป

อุปกรณ์และวิธีการ

1. วิธีการวิจัย

ดำเนินการทดลอง ณ แปลงเกษตรกร หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งหลาง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
โดยทำการทดลองเป็นระยะเวลา 3 ปี ใส่ปุ๋ยให้ยางพาราปีละ 2 ครั้ง คือช่วงต้นฝน เดือนพฤษภาคม และปลายฝน เดือน พฤศจิกายน โดยวิธีการหว่านห่างจากโคนต้นระยะห่าง 1 เมตร หว่านออกไปให้อยู่ในรัศมีทรงพุ่มวางแผนการทดลองแบบ RCBD (Randomized completely block design) 3 กรรมวิธี จำนวน 4 ซ้ำ มี คือ
1) กรรมวิธีที่ 1 ปุ๋ยสูตร 15-7-18 อัตรา 500 กรัม/ต้น/ครั้ง
2) กรรมวิธีที่ 2 ปุ๋ยสูตร 20-8-20 อัตรา 500 กรัม/ต้น/ครั้ง
3) กรรมวิธีที่ 3 ปุ๋ยสูตร 21-7-18 อัตรา 500 กรัม/ต้น/ครั้ง

2. การเก็บข้อมูล

2.1) ผลผลิต มีหน่วยเป็นกิโลกรัมต่อไร่ต่อปี เก็บผลผลิต 20 วันต่อเดือน (ระบบกรีดครึ่งต้น 2 วันเว้นวัน) โดยจะเก็บผลผลผลิตในช่วงเวลา 07.00 – 08.30 น.
2.2) เปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ นำตัวอย่างน้ำยางน้ำหนักประมาณ 0.85-0.95 กรัม ใส่ในถ้วยเซรามิค นำเข้าไปอบในไมโครเวฟ กำลังไฟ 800 วัตต์ ตั้งเวลา 2.30 นาที นำถ้วยออกจากไมโครเวฟตั้งให้เย็นลงแล้วนำเนื้อยางที่อยู่ในถ้วยมาชั่งน้ำหนัก คำนวณเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง
2.3) เก็บข้อมูลการเจริญเติบโตโดยวัดการเจริญเติบโตของเส้นรอบวง สูงจากระดับพื้นดิน 150 เซนติเมตร

ผลการวิจัย

ผลผลิตน้ำยาง
ผลผลิตน้ำยางในปีที่ 3 พบว่า ยางพาราที่ได้รับปุ๋ยสูตร 20-8-20 ให้ผลผลิตน้ำยางสูงที่สุด เฉลี่ยเท่ากับ 2,158 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี รองลงมาเป็นสูตร 21-7-18 และ 15-7-18 เท่ากับ 2,068 และ 1,178 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ตามลำดับ (ภาพที่ 1)
ผลผลิตน้ำยางในปีที่ 2 พบว่ายางพาราที่ได้รับปุ๋ยสูตร 20-8-20 ให้ผลผลิตน้ำยางสูงที่สุด เฉลี่ยเท่ากับ 2,108 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี รองลงมาเป็นสูตร 21-7-18 และ 15-7-18 เท่ากับ 2,060 และ 1,761 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ตามลำดับ
ผลผลิตน้ำยางในปีที่ 1 พบว่ายางพาราทีได้รับปุ๋ยสูตร 20-8-20 ให้ผลผลิตน้ำยางสูงที่สุด เฉลี่ยเท่ากับ 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี รองลงมาเป็นสูตร 21-7-18 และ 15-7-18 เท่ากับ 1,810 และ 1,778 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ตามลำดับ


ภาพที่ 1 ผลผลิตน้ำยางพารา (กิโลกรัม/ไร่/ปี) ภายใต้ปุ๋ยสูตรที่แตกต่างกัน

ปริมาณเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง
ปริมาณเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในปีที่ 3 พบว่า ยางพาราที่ได้รับปุ๋ยสูตร 20-8-20 ให้เปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งสูงที่สุด เฉลี่ยเท่ากับ 42.14 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาเป็นสูตร 21-7-18 และ 15-7-18 เท่ากับ 40.62 และ 36.74 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ (ภาพที่ 2)
ปริมาณเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในปีที่ 2 พบว่า ยางพาราที่ได้รับปุ๋ยสูตร 20-8-20 ให้เปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งสูงที่สุด เฉลี่ยเท่ากับ 41.53 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาเป็นสูตร 21-7-18 และ 15-7-18 เท่ากับ 39.16 และ 37.20 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
ปริมาณเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในปีที่ 1 พบว่า ยางพาราที่ได้รับปุ๋ยสูตร 20-8-20 ให้เปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งสูงที่สุด เฉลี่ยเท่ากับ 42.45 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาเป็นสูตร 21-7-18 และ 15-7-18 เท่ากับ 39.69 และ 38.76 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ


ภาพที่ 2 ปริมาณเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง (เปอร์เซ็นต์) ภายใต้ปุ๋ยสูตรที่แตกต่างกัน

น้ำหนักเนื้อยางแห้งสุทธิ
น้ำหนักเนื้อยางแห้งสุทธิในปีที่ 3 พบว่า ยางพาราที่ได้รับปุ๋ยสูตร 20-8-20 ให้น้ำหนักเนื้อยางแห้งสุทธิสูงที่สุด เฉลี่ยเท่ากับ 907.96 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี รองลงมาเป็นสูตร 21-7-18 และ 15-7-18 เท่ากับ 841.33 และ 654.00 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ตามลำดับ (ภาพที่ 3)
น้ำหนักเนื้อยางแห้งสุทธิในปีที่ 2 พบว่า ยางพาราที่ได้รับปุ๋ยสูตร 20-8-20 ให้น้ำหนักเนื้อยางแห้งสุทธิสูงที่สุด เฉลี่ยเท่ากับ 873.79 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี รองลงมาเป็นสูตร 21-7-18 และ 15-7-18 เท่ากับ 809.68 และ 655.33 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ตามลำดับ
น้ำหนักเนื้อยางแห้งสุทธิในปีที่ 1 พบว่า ยางพาราที่ได้รับปุ๋ยสูตร 20-8-20 ให้น้ำหนักเนื้อยางแห้งสุทธิสูงที่สุด เฉลี่ยเท่ากับ 827.56 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี รองลงมาเป็นสูตร 21-7-18 และ 15-7-18 เท่ากับ 716.68 และ 687.79 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ตามลำดับ


ภาพที่ 3 น้ำหนักเนื้อยางแห้งสุทธิ (กิโลกรัม/ไร่/ปี) ภายใต้ปุ๋ยสูตรที่แตกต่างกัน

เส้นรอบวงลำต้นที่เพิ่มขึ้น
เส้นรอบวงลำต้นที่เพิ่มขึ้นในปีที่ 3 พบว่า ยางพาราที่ได้รับปุ๋ยสูตร 20-8-20 และ 21-7-18 มีแนวโน้มใกล้เคียงกัน เท่ากับ 2.06 และ 2.05 เซนติเมตร ตามลำดับ ในขณะที่ปุ๋ยสูตร 15-7-18 มีเส้นรอบวงเพิ่มขึ้นเท่ากับ 1.40 เซนติเมตร (ภาพที่ 4)
เส้นรอบวงลำต้นที่เพิ่มขึ้นในปีที่ 2 พบว่า ยางพาราที่ได้รับปุ๋ยสูตร 20-8-20 และ 21-7-18 มีแนวโน้มใกล้เคียงกัน เท่ากับ 2.07 และ 2.02 เซนติเมตร ตามลำดับ ในขณะที่ปุ๋ยสูตร 15-7-18 มีเส้นรอบวงเพิ่มขึ้นเท่ากับ 1.42 เซนติเมตร
เส้นรอบวงลำต้นที่เพิ่มขึ้นในปีที่ 1 พบว่า ยางพาราที่ได้รับปุ๋ยสูตร 20-8-20 และ 21-7-18 มีแนวโน้มใกล้เคียงกัน เท่ากับ 2.16 และ 2.19 เซนติเมตร ตามลำดับ ในขณะที่ปุ๋ยสูตร 15-7-18 มีเส้นรอบวงเพิ่มขึ้นเท่ากับ 1.10 เซนติเมตร


ภาพที่ 4 เส้นรอบวงลำต้นที่เพิ่มขึ้น (เซนติเมตร) ภายใต้ปุ๋ยสูตรที่แตกต่างกัน

สรุปผลการทดลอง

หากพิจารณาจากข้อมูลการค่าเฉลี่ยน้ำหนักเนื้อยางแห้งสุทธิตลอดการทดลองทั้ง 3 ปี ที่มีการเก็บผลผลิต 20 วันต่อเดือน พบว่า ยางพาราที่ได้รับปุ๋ยสูตร 20-8-20 ให้น้ำหนักเนื้อยางแห้งสุทธิสูงที่สุด เฉลี่ยเท่ากับ 870 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี เมื่อคิดราคาสุทธิจากการจำหน่ายที่ราคากิโลกรัมละ 60 บาท เกษตรกรจะมีรายได้สูงที่สุดเท่ากับ 52,186 บาทต่อไร่ต่อปี รองลงได้ได้แก่ยางพาราที่ได้รับปุ๋ยสูตร 21-7-18 และ 15-7-18 ซึ่งให้น้ำหนักเนื้อยางแห้งสุทธิเฉลี่ยเท่ากับ 789 และ 666 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ตามลำดับ เมื่อคิดราคาสุทธิจากการจำหน่ายที่ราคากิโลกรัมละ 60 บาท เกษตรกรจะมีรายได้เท่ากับ 47,354และ 39,942 บาทต่อไร่ต่อปี ตามลำดับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานของท่าน และเพื่อการมอบบริการที่ดีที่สุดจากเรา กรุณากดปุ่มยอมรับ คุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานได้ที่ การตั้งค่าคุกกี้ และ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า