รู้หรือไม่ ทำไมค่าความเป็นกรดเป็นด่างในดินถึงส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช

ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินบอกอะไรได้บ้าง ?

ต้องเกริ่นก่อนว่า ประเทศไทยมีภูมิอากาศแบบเขตร้อนชื้น มีฝนตกชุกในปริมาณที่สูง ทำให้ธาตุกลุ่มที่ชะละลายได้ง่ายสูญเสียไปกับน้ำ (แคลเซียมและแมกนีเซียม) และคงเหลือแต่ธาตุที่ถูกชะละลายได้ยาก เช่น เหล็ก อะลูมินัม และไฮโดรเจน เป็นต้น ส่งผลให้ดินในประเทศไทยส่วนมากค่อนข้างมีความเป็นกรดสูง สำหรับการจัดการดินและธาตุอาหารสำหรับดินกรดเขตร้อนในประเทศไทยนั้น มีการแนะนำให้ปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินไว้แค่ 5.5 ก็เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืชแล้ว หากมีการปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้สูงกว่า 5.5 เป็น 7.0 ต้องคำนึงถึงต้นทุน และจุดคุ้มทุน เนื่องจากบางพื้นที่ต้องใช้วัสดุจำพวกปูนสูงมากในการปรับความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูง ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน โดยค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินจะเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยตรง เกษตรกรหลาย ๆ ท่านอาจไม่เคยทราบมาก่อนว่าดินของเรามีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ในระดับไหน โดยค่าความเป็นกรดเป็นด่างจะจำแนกได้ดังนี้

ทำไมดินที่มีกรดสูง ๆ ถึงทำให้พืชมีผลผลิตลดลง ?

ในสภาพดินกรดจัดถึงกรดรุนแรงมากจะทำให้ธาตุบางธาตุในดินละลายออกมามากจนเป็นพิษต่อพืชได้ เช่น เหล็ก และอะลูมินัม โดยเฉพาะอะลูมินัมนั้น ไม่ใช่ธาตุอาหารพืช หากในดินมีอะลูมินัมละลายออกมาสูงจะส่งผลให้รากพืชเกิดอาการผิดปกติ และในสภาพดินกรดรุนแรงยังทำลายเซลล์รากพืชให้เกิดความเสียหายได้ ส่งผลต่อการดูดน้ำและธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ได้น้อยลง ผลผลิตก็จะลดลง อีกทั้ง
ยังทำให้ธาตุอาหารบางธาตุ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และฟอสฟอรัส เกิดการตกตะตอนและถูกจับไว้กับอะลูมินัมและเหล็ก พืชที่เราปลูกจะไม่สามารถนำธาตุอาหารเหล่านี้ไปใช้ในการเจริญเติบโตได้ โดยค่าความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชจะอยู่ในช่วง 5.5 – 6.5 เนื่องจากมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ทุกธาตุในปริมาณที่เหมาะสม สามารถสังเกตได้ดังภาพที่ 1

โดยสามารถสังเกตลักษณะดินที่เป็นกรดจัดรุนแรงได้คร่าว ๆ จากสีของดิน โดยดินที่มีจุดประสีแดง สีน้ำตาลหรือสีเหลือง และอาจมีคราบสนิมเหล็กในบริเวณหน้าตัดดิน ก็สามารถสันนิษฐานได้ว่า ดินของเราเป็นดินกรด แต่จะอยู่ในระดับไหนนั้น อาจจะต้องมีการส่งตัวอย่างดินเพื่อทำการวิเคราะห์สมบัติของดิน
เพื่อช่วยในการจัดการดินได้อย่างเหมาะสมต่อไป นอกจากนี้หากเราสามารถปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมได้ (5.5-6.5) นอกจากธาตุอาหารที่เหมาะสมในดินสามารถเป็นประโยชน์แก่พืชแล้ว ยังช่วยให้พืชสามารถใช้ปุ๋ยเคมีต่าง ๆ ที่เราใส่ลงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นอีกด้วย

อ้างอิงโดย
หนังสือปฐพีวิทยาเบื้องต้น, 2544
ดินเปรี้ยวในประเทศไทย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (http://eduserv.ku.ac.th/km/doc/K8027.pdf)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานของท่าน และเพื่อการมอบบริการที่ดีที่สุดจากเรา กรุณากดปุ่มยอมรับ คุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานได้ที่ การตั้งค่าคุกกี้ และ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า