ทำความรู้จักกับสับปะรดในประเทศไทย “พืชเศรษฐกิจที่หลายคนมองข้าม”

สับปะรดเป็นพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย และไทยเป็นผู้ส่งออกสับปะรดกระป๋องอันดับ 1 ของโลก โดยมีส่วนแบ่งในตลาดร้อยละประมาณ 50 ของปริมาณสับปะรดกระป๋องทั้งหมด ซึ่งสร้างรายได้ให้กับประเทศประมาณปีละ 23,000-25,000 ล้านบาท มีตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และตะวันออกกลาง (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2559) โดยในปี 2565 (ม.ค-ต.ค) มีการส่งออกรวมปริมาณ 433,997 ตัน มูลค่ามากกว่า 20,065.47 ล้านบาท และราคาสับปะรดโรงงานที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.89 บาท เพิ่มขึ้นจาก 5.13 บาท ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละประมาณ 34.31 ของราคาที่เพิ่มขึ้น และราคาสำหรับสับปะรดที่บริโภคขายได้ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.66 บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2564 ร้อยละประมาณ 11.27 ของราคาที่เพิ่มขึ้น โดยภาพรวมผลผลิตสับปะรดทั้งโลกในปี 2565 อยู่ที่ประมาณ 28.99 ล้านตัน และไทยมีสัดส่วนทั้งหมดประมาณร้อยละ 52.10 ของผลผลิตทั้งหมดของโลก และมีปริมาณการส่งออกสูงที่สุด 0.41 ล้านตัน รองลงมา คือ ฟิลิปปินส์ 0.32 ล้านตัน และอินโดนีเซีย 0.24 ล้านตัน (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2565) จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า สับปะรดที่ดูเหมือนจะเป็นพืชทางเศรษฐกิจของไทยที่หลาย ๆ หน่วยงานให้ความสนใจค่อนข้างน้อย แต่กลับมีมูลค่าและราคาที่น่าสนใจ อีกทั้งการปลูกและการดูแลค่อนข้างง่าย เนื่องจากเป็นพืชที่ค่อนข้างทนต่อสภาพแวดล้อมได้หลากหลาย และยังมีความต้องการสูงทั้งในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม และในกลุ่มการค้าปลีกทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มคนที่รักสุขภาพ

สับปะรดเป็นพืชที่มีคุณประโยชน์ด้านโภชนาการที่สูงมาก โดยพบว่า 100 กรัม ของสับปะรดจะให้พลังงาน 50 กิโลแคลอรี่ (2.5%) คาร์โบไฮเดรต 13.52 กรัม (10%) โปรตีน 0.54 กรัม (1%) ไฟเบอร์ 1.4 กรัม (4%) และกลุ่มวิตตามิน ทั้ง 9 ชนิด ได้แก่ โฟเลต (4.5%) ไพริดอกซีน (9%) ไนอะซิน (4%) ไรโบฟลาวิล (1.5%) ไทอามีน (6.5%) วิตามินเอ (2%) วิตตามินซี (80%) วิตตามินอี (<1%) และวิตตามินเค (0.5%) หากพิจารณาถึงคุณประโยชน์ด้านโภชนาการจะเห็นได้ว่า สับปะรดค่อนข้างมีกลุ่มวิตตามินที่สูงมาก และหลากหลาย จึงไม่แปลกที่สับปะรดยังคงเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

ในปี 2565 ประเทศไทยมีเนื้อที่ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตสับปะรดอยู่ที่ประมาณ 455,574 ไร่ ผลผลิตรวม 1.78 ล้านตัน ผลผลิตประมาณ 3,899 กิโลกรัมต่อไร่ ในปัจจุบันพันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทย ได้แก่ พันธุ์ปัตตาเวีย
พันธุ์นางแล พันธุ์สวี พันธุ์ภูเก็ต พันธุ์ปัตตานี พันธุ์อินทรชิตขาว-แดง พันธุ์ตราดสีทอง พันธุ์ลักกะตา และพันธุ์สิงคโปร์ปัตตาเวีย แหล่งปลูกที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระยอง ชลบุรี เพชรบุรี พิษณุโลก รวมถึงบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น หนองคาย ซึ่งสับปะรดในพื้นที่จังหวัดหนองคายนั้น ได้รับขึ้นเป็นพื้นที่ GI โดยสับปะรดที่ปลูกในจังหวัดหนองคายนั้น จะมีรสชาติ หอม หวาน แกนกรอบ และไม่กัดลิ้น ผลผลิตจะออกมามากในช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน และเดือนพฤศจิกายน-มกราคม สำหรับผลผลิตสับปะรดสดในประเทศร้อยละประมาณ 70-80 ของปริมาณผลผลิตจะถูกส่งเข้าสู่โรงงานแปรรูป ซึ่งพันธุ์ที่นิยมปลูกเพื่อส่งโรงงานแปรรูปมากกว่าร้อยละประมาณ 80 ของการส่งโรงงานแปรรูปจะเป็นสายพันธุ์ปัตตาเวีย ส่วนที่เหลืออีกร้อยละประมาณ 20 ของผลผลิตจะถูกนำส่งตลาดผู้บริโภคในประเทศ

สายพันธุ์สับปะรดที่เหมาะสมสำหรับการบริโภคผลสด ได้แก่

1.) พันธุ์ปัตตาเวีย จัดอยู่ในกลุ่ม Smooth cayenne เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุด และส่วนใหญ่มากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ใช้ในอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋อง แต่ยังมีคุณสมบัติที่เหมาะสมสาหรับการบริโภคสดด้วย รสชาติหวานอมเปรี้ยว ความหวานเฉลี่ย (Soluble Solids; SS) 14.8 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณกรด 0.74 เปอร์เซ็นต์,

2.) พันธุ์นางแล จัดอยู่ในกลุ่ม Smooth cayenne เดิมพันธุ์นี้นามาจากประเทศสิงคโปร์ ประมาณปี พ.ศ. 2480 โดย นายเข่ง แซ่อุย ปลูกครั้งแรก ที่บ้านป่าซาง ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เนื้อมีสีเหลืองน้ำผึ้ง รสชาติหวานอมเปรี้ยว ความหวานเฉลี่ย 16.5 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณกรด 0.52 เปอร์เซ็นต์,

3.) พันธุ์ตราดสีทอง จัดอยู่ในกลุ่ม Queen เป็นพันธุ์ท้องถิ่นที่ปลูก ในจังหวัดตราด เหมาะสำหรับการบริโภคสดเท่านั้น เนื้อผลสีเหลือง รสชาติหวานอมเปรี้ยว ความหวานเฉลี่ย 17.4 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณกรด 0.65 เปอร์เซ็นต์

4.) พันธุ์ภูเก็ต จัดอยูํในกลุ่ม Queen เช่นเดียวกับพันธุ์ตราดสีทอง และเป็นพันธุ์ท้องถิ่นที่ปลูกในจังหวัดภูเก็ต สีเปลือกเมื่อสุกแก่จะมีสีเหลืองปนส้มเข้ม เนื้อเหลืองเข้ม รสชาติหวานอมเปรี้ยว เนื้อกรอบและมีกลิ่นหอม ค่าความหวานเฉลี่ย 16.3 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณกรด 0.65 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนาไปปลูกที่เชียงรายมีการตั้งชื่อว่า ภูแล โดยหลังเก็บผลรุ่นแม่แล้วมีการไว้หน่อต่อต้น 4-5 หน่อและบังคับดอก เมื่อหน่อที่มีขนาดเล็ก ทำให้ได้ผลขนาดเล็กจึงเป็นเอกลักษณ์ และสร้างจุดขายของพื้นที่ และ

5.) พันธุ์สวี จัดอยู่ในกลุ่ม Queen เช่นเดียวกับพันธุ์ตราดสีทอง และพันธุ์ภูเก็ต ลักษณะคล้ายพันธุ์ภูเก็ต ผลทรงกระบอก แต่สั้นกว่าพันธุ์ภูเก็ต ผลย่อยหรือตาผลจะเล็กและค่อนข้างนูน จากการพิสูจน์พันธุ์โดยใช้รูปแบบของ ไอโซไซม์ (isozyme) ในการจำแนกพันธุ์ พบว่า สายพันธุ์ภูเก็ตและพันธุ์สวี
มีแนวโน้มเป็นสายพันธุ์เดียวกัน เนื่องจากมีรูปแบบไอโซไซม์เหมือนกัน ด้านสีเปลือก สีเนื้อ และรสชาติ ใกล้เคียงกับพันธุ์ภูเก็ต โดยมีค่าความหวานเฉลี่ย 16. 2 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณกรด 0.64 เปอร์เซ็นต์

จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะเป็นสายพันธุ์ที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมในตลาดผู้บริโภคผลสด โดยสังเกตได้จากค่าความหวานเฉลี่ยที่ค่อนข้างสูง ทำให้ผู้บริโภคมีความชื่นชอบกับสายพันธุ์ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม สับปะรดยังคงเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าสนใจทั้งในเรื่องของ ราคา คุณภาพ ความต้องการ และความทนทานของพืชในแต่ละสภาพแวดล้อม ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของเกษตรกรที่กำลังมองหาพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ สับปะรดอาจจะเป็นคำตอบให้กับคุณ …

อ้างอิง
นางสาวณิชากร ปทุมรังสรรค์. 2561. การวิเคราะห์ปัจจัยของดินที่ส่งผลต่อการผลิตและระดับความหวานของ
สับปะรดในจังหวัดราชบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ทวีศักดิ์ แสงอุดม. 2560. การจัดการการผลิตสับปะรดคุณภาพ. สถาบันวิจัยพืชสวน. กรมวิชาการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วารสารเศรษฐกิจการเกษตร. 2559. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. กระทรวงการเกษตรและสหกรณ์

อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์ และธนวดี พรหมจันทร์. 2564. ผลของการจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับการใช้สารปรับปรุงดินต่อลักษณะการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพของสับปะรด. คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
อรอง จันทร์ประสาทสุข. 2558. การวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและเคมีจาเพาะของเนื้อผลสับปะรด. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

María G. L. and Robert E. P. 2017. Handbook of Pineapple Technology Production, Postharvest
Science, Processing and Nutrition. Chichester, UK

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานของท่าน และเพื่อการมอบบริการที่ดีที่สุดจากเรา กรุณากดปุ่มยอมรับ คุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานได้ที่ การตั้งค่าคุกกี้ และ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า