ตอนที่ 2 รู้หรือไม่ ธาตุอาหารหลัก N P K จากปุ๋ย นอกจากช่วยในการเจริญเติบโตแล้วยังช่วยลดการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้อีกด้วย

ตอนที่ 2 ปุ๋ยฟอสฟอรัสกับการเข้าทำลายของโรคและแมลง

วันนี้ทางแผนกพัฒนาผลิตภัณฑ์ สายงานการตลาด วิจัยและพัฒนา ของบริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน) (ปุ๋ยตราหัววัว-คันไถ) ได้มาพบกับท่านผู้อ่านอีกครั้ง โดยในฉบับนี้จะเป็นตอนที่ 2 สำหรับหัวข้อ “รู้หรือไม่…ธาตุอาหารหลัก (N P K) จากปุ๋ย นอกจากช่วยในการเจริญเติบโตแล้วยังช่วยลดการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้อีกด้วย” โดยในตอนนี้เราจะมาต่อกันในตอนที่ 2 “ปุ๋ยฟอสฟอรัสกับการเข้าทำลายของโรคและแมลง”

ฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการในปริมาณที่ค่อนข้างมาก ซึ่งช่วยเร่งการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของราก รวมถึงควบคุมการออกดอก ออกผลและการสร้างเมล็ด โดยพืชขาดฟอสฟอรัส ระบบรากจะไม่เจริญเติบโต ใบแก่จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีม่วง กลายเป็นสีน้ำตาลหลุดร่วง และลำต้นแคระแกร็นไม่ผลิดอกออกผล

สำหรับประเด็นของหัวข้อหลักในวันนี้ ต้องขออธิบายก่อนว่า งานวิจัยเกี่ยวกับผลของปุ๋ยเคมีที่มีฟอสฟอรัสต่อการทำลายพืชโดยโรคและแมลงนั้น ยังมีไม่เพียงพอที่จะให้ข้อสรุปที่ชัดเจนได้ แต่ก็มีรายงานว่า ปุ๋ยเคมีที่ให้ฟอสฟอรัสนั้นทำให้พืชถูกโรคใบจุดสีน้ำตาลรบกวนน้อยลง โดยพบว่าเมื่อเพิ่มอัตราปุ๋ยฟอสฟอรัส (อัตราการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ 0, 4.8, 9.6, 14.4 และ 19.2 กิโลกรัม P2O5 ต่อไร่) นอกจากจะได้ผลผลิตถั่วพุ่มเพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีแนวโน้มทำให้อัตราการเกิดโรคลดลงมากถึง 3.18, 27.01, 56.20 และ 57.21 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับการไม่ใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส จะเห็นได้ว่าการใส่ฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้นมีแนวโน้มทำให้พืชนั้นแข็งแรงและลดจำนวนต้นถั่วที่เป็นโรคลงได้สูงมากถึง 50 กว่าเปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว (รูปที่ 1 และ 2) นอกจากนี้ยังมีการทดลองใส่ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสแบบสเปรย์และไม่ใส่ปุ๋ยต่อต้นเนคทารีนที่เป็นโรคราแป้ง พบว่า เมื่อมีการใส่ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้น ทำให้อัตราการเกิดโรคราแป้งลดลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของการให้คะแนนจากระดับการเกิดโรค ทั้งในใบและในผล (รูปที่ 3 และ 4)

รูปที่ 1 อัตราการใช้ปุ๋ยฟอสฟอรัสที่แตกต่างกัน (P = P2O5) ต่อโรคจุดสีน้ำตาลของถั่วพุ่ม

 

รูปที่ 2 ตัวอย่างโรคใบจุดสีน้ำตาลในข้าว

 

รูปที่ 3 เปรียบเทียบการไม่ใส่ปุ๋ยและใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสแบบสเปรย์ในใบและผลเนคทารีนต่อการเข้าทำลายของโรคราแป้ง (powdery mildew)

 

รูปที่ 4 ตัวอย่างโรคราแป้งในใบตำลึง

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับหลังจากได้อ่านบทความข้างต้นเกี่ยวกับธาตุอาหารหลักอย่างฟอสฟอรัส ถึงแม้จะยังมีผลงานวิจัยที่ออกมาพิสูจน์รับรองไม่มากเท่าที่ควร แต่ก็พอจะเป็นแนวทางให้ผู้อ่านนำไปประยุกต์และปรับใช้เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับต้นพืช เมื่อพืชแข็งแรงโรคภัยที่จะเข้าทำลายก็จะลดลงตามไปด้วยครับ

สุดท้ายนี้อย่าลืมติดตามกันต่อในตอนที่ 3 นะครับ ในฉบับหน้าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับธาตุอาหารหลักตัวสุดท้ายหรือที่เราเรียกกันว่าโพแทสเซียมนั่นเองครับ

เกร็ดความรู้ : เนคทารีน (Nectarine) เป็นไม้ผลยืนต้นเขตหนาวชนิดผลัดใบ (deciduous temperate zone fruit tree) ที่มูลนิธิโครงการหลวงได้ทำการศึกษาวิจัยเพื่อให้เป็นพืชเศรษฐกิจบนพื้นที่สูง ผลเนคทารีนมีทรงกลมสีแดง เนื้อผลละเอียด รสชาติหวานอมเปรี้ยว และผิวผลไม่แตกง่าย และสำหรับพันธุ์โกเมน 2 สามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่สูงทางภาคเหนือของประเทศไทย มีการออกดอก ติดผล และให้
ผลผลิตที่คุ้มค่าแก่การเพาะปลูกเชิงพาณิชย์ ผลผลิตมีคุณภาพสูง และมีความทนทานต่อโรคราสนิม (Rust) และโรคใบรู (Shot hole) รวมถึงมีการทดสอบกับผู้บริโภคได้รับการตอบรับที่ดีและเป็นที่ต้องการของตลาด (รูปที่ 5)

รูปที่ 5 เนคทารีนพันธุ์โกเมน 2

 

ที่มา : ปลูกพืชอินทรีย์ไม่ดีอย่างที่คิด ปลูกพืชปลอดภัยจากสารพิษดีกว่าไหม ?; ศาสตราจารย์เกียรติคุณ
ดร. อำนาจ สุวรรณฤทธิ์ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ บางเขน;

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานของท่าน และเพื่อการมอบบริการที่ดีที่สุดจากเรา กรุณากดปุ่มยอมรับ คุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานได้ที่ การตั้งค่าคุกกี้ และ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า