ชาวนายิ้มออก แปลงสาธิตโครงการเพิ่มข้าวเห็นผล

ผลผลิตและคุณภาพสูงขึ้น ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ดิน และการจัดการธาตุอาหารให้ตรงตามที่พืชต้องการ

สืบเนื่องจากโครงการแปลงทดลองกึ่งสาธิตการจัดการธาตุอาหารสำหรับข้าวพันธุ์สังข์หยด ต.ควนมะพร้าว อ.เมือง จ.พัทลุง ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี นำเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการเพิ่มปริมาณผลผลิต คุณภาพ และปริมาณสาระสำคัญของข้าวสังข์หยด ผลปรากฏว่าสามารถเก็บเกี่ยวได้ในปริมาณที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังได้คุณภาพที่ปริมาณสารสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ

ผศ.ดร.ธีร สรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกษตร เปิดเผยถึงสาเหตุที่เลือกข้าวสังข์หยดพัทลุงมาทำแปลงสาธิตในครั้งนี้ ดังนี้

โครงการนี้จึงเกิดขึ้นเพื่ออนุรักษ์และป้องกันไม่ให้ข้าวสังข์หยดสูญหายไป รวมถึงช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยใช้การจัดการธาตุอาหารอย่างถูกวิธีและเหมาะสมกับพืชในแต่ละช่วง

การดำเนินการในครั้งนี้จะสำเร็จไม่ได้เลยหากขาดการสนับสนุนจาก บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ที่ช่วยให้การวิจัยเป็นไปอย่างคล่องตัว ทั้งในด้านการลงพื้นที่ชุมชนและงบประมาณ การร่วมมือกับภาคเอกชนถือเป็นเรื่องสำคัญ การหาจุดร่วม เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือการยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร ทั้งในการเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต ไปจนถึงการเพิ่มรายได้และคุณภาพสินค้าเกษตรให้อยู่ในระดับสากล

ช้พื้นที่ 8 ไร่ ทำแปลงสาธิตปลูกข้าวสังข์หยดผลผลิตเพิ่ม กำไรเพิ่ม เกษตรกรยิ้มออก

ในการทำแปลงสาธิตปลูกข้าวสังข์หยดครั้งนี้ ใช้พื้นที่ ต.ควนมะพร้าว อ.เมือง จ.พัทลุง จำนวน 8 ไร่ ซึ่งเป็นบริเวณที่ชาวบ้านในพื้นที่ปรับเปลี่ยนจากการทำสวนมะพร้าวมาปลูกข้าว โดยไม่ได้วิเคราะห์ค่าดิน หรือศึกษาลักษณะพื้นที่ว่าสภาพดินนั้นเป็นดินทรายไม่เหมาะกับการปลูกข้าว ทำให้ส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของข้าว

ทางคณะวิจัยได้มีการนำดินในพื้นที่ไปตรวจวิเคราะห์จึงทราบว่าดินในพื้นที่มีธาตุอาหารและอินทรียวัตถุต่ำ สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากเกษตรกรว่าพื้นที่บริเวณนี้ได้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ อยู่ที่ประมาณ 300 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งไม่คุ้มกับการลงทุน คณะวิจัยจึงตั้งเป้าหมายผลผลิตที่ 500 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้มั่นคง ผศ.ดร.ธีร์ สรีสวัสดิ์ กล่าวว่า ตัวแปรสำคัญที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและคุณภาพข้าวคือ การตรวจวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีของดิน เพื่อนำมาพัฒนารูปแบบแนวทางจัดการธาตุอาหารให้เหมาะสมตามความต้องการของพืช

โดยวิธีการใส่ปุ๋ยจะดูจากการเจริญเติบโตของข้าวเป็นหลัก และต้องใส่ให้ตรงกับระยะที่พืชต้องการ ดังนี้

ผลลัพธ์จากการทดลอง

  1. ปริมาณผลผลิต จากการให้ปุ๋ย 3 ครั้ง ต่อ 1 รอบการปลูก ช่วยให้จำนวนต้นต่อกอ จำนวนรวงต่อกอ และจำนวนเมล็ดต่อรวงมากขึ้น เมื่อเทียบกับผลผลิตเดิมของเกษตรกร เมล็ดข้าวจากแปลงสาธิตมีน้ำหนักมากกว่า
  2. คุณภาพผลผลิต เมล็ดข้าว 1 รวง มีเมล็ดลีบลดลงครึ่งหนึ่งจากผลผลิตเดิม ความยาวของเมล็ดเพิ่มขึ้น จากผลผลิตเดิมที่อยู่ในเกณฑ์ข้าวเมล็ดสั้นเปลี่ยนเป็นข้าวเมล็ดยาว ทำให้น้ำหนักต่อ 1,000 เมล็ดมากขึ้น
  3. คุณภาพทางด้านเคมี จุดเด่นของข้าวสังข์หยดอยู่ที่การมีวิตามินและไฟเบอร์สูง รวมถึงมีสารแอนโทไซยานิน ซึ่งเป็น
    สารต้านอนุมูลอิสระสูง ทำให้ดึงดูดกลุ่มคนรักสุขภาพและผู้สูงอายุให้หันมาบริโภคมากขึ้น ซึ่งจากการทดลองพบว่าปริมาณสารแอนโทไซยานินเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว จากเดิมอยู่ที่ 0.62 มิลลิกรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร เป็น 1.37 มิลลิกรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร
  4. ปริมาณอะไมโลส ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเหนียวของข้าวสูงขึ้น จาก 3.88% มาอยู่ที่ 10.22% ซึ่งทำให้ข้าวเหนียวและนุ่มขึ้น
  5. คุณสมบัติแป้ง คุณสมบัติการหุงต้ม พบว่ามีการยืดตัวของเมล็ดข้าวสุกมากขึ้น บ่งชี้ว่าเป็นข้าวที่คุณภาพดีและหุงขึ้นหม้อ

จากผลการทดลองสรุปได้ว่า แปลงข้าวสาธิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกินความคาดหวังที่ตั้งไว้ หากเปรียบเทียบกับการใส่ปุ๋ยเพิ่มขึ้นเพียง 10 กิโลกรัม/ไร่ แต่กำไรสูงขึ้น 56% ถือว่าคุ้มค่า ในขณะเดียวกันคุณภาพของข้าวที่ได้ก็เพิ่มขึ้น นำไปสู่แนวทางการทำให้ข้าวสังข์หยดพัทลุงเป็นข้าวเกรดพรีเมียม แข่งขันกับข้าวสายพันธุ์อื่นในระดับสากลได้ และสิ่งสำคัญที่สุดคือการทำให้เกษตรกรมีกำลังใจในการปลูกข้าวคุณภาพประโยชน์สูงอย่างข้าวสังข์หยดต่อไป

นายประเสริฐ ทองใส หนึ่งในเกษตรกรสมาชิกโครงการเพิ่มข้าว อยู่ที่บ้านค่ายไทย หมู่11 ต.ควนมะพร้าว อ.เมือง
จ.พัทลุง เปิดเผยถึงความรู้สึกที่ได้ร่วมโครงการเพิ่มข้าวว่า ตนปลูกข้าวมานานกว่า 20 ปี ปัจจุบันปลูกข้าวสังข์หยดพัทลุงเป็นสายพันธุ์หลักสร้างรายได้มาเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี ก่อนหน้านี้ลุงประเสริฐปลูกข้าวพันธุ์เฉี้ยงพัทลุงมาก่อน แต่ข้าวสายพันธุ์นี้ขายไม่ได้ราคาเท่าที่ควร จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เปลี่ยนมาปลูกข้าวสังข์หยด แต่ยังคงติดปัญหาในเรื่องของผลผลิตที่ได้น้อย ลุงประเสริฐจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเพิ่มข้าวในครั้งนี้ เพื่อหวังว่าจะได้นำความรู้ที่ทางโครงการถ่ายทอดมาพัฒนาเพิ่มผลผลิตข้าวในแปลงของตนเองให้มีปริมาณและคุณภาพสูงขึ้น

สภาพแปลงปลูกเป็นดินเปรี้ยว ได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ

ลุงประเสริฐบอกว่า ก่อนหน้านี้นาข้าวของตนไม่เคยตรวจวิเคราะห์ค่าดิน ปลูกไปตามภูมิปัญญาดั้งเดิมที่เคยทำมา
เมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวจึงเกิดคำถามขึ้นในใจว่า ทำไมผลผลิตข้าวในแปลงของตนได้น้อย ใช้เวลาคิดอยู่นานก็หาคำตอบไม่ได้สักที จนกระทั่งได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการเพิ่มข้าว ทำให้รู้ว่าสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากดินที่มีสภาพเป็นดินเปรี้ยวจนเป็นพิษกับพืชที่ปลูก จนในปัจจุบันแปลงทดลองของตนจำนวน 8 ไร่ มีต้นทุนในการผลิตลดลง ทั้งในส่วนของค่ายา ค่าปุ๋ย และค่าเมล็ดพันธุ์จากเมื่อก่อนเคยหว่านในอัตรา 15 กิโลกรัม/ไร่ ลดลงมาเหลือ 12 กิโลกรัม/ไร่ แต่ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น จากเดิมที่เคยได้ผลผลิตไม่ถึง 300 กิโลกรัม/ไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 350-400 กิโลกรัม/ไร่ รวมถึงคุณภาพของข้าวที่มากขึ้น ต้นข้าวสมบูรณ์ แตกกอดี รวงยาวขึ้นซึ่งสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ต้องขอขอบคุณทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และ บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ที่ได้จัดทำโครงการดีๆ แบบนี้ขึ้นมาช่วยเหลือพวกเราชาวนา และพวกเรามีความหวังว่าทางโครงการจะมีการพัฒนาต่อยอด และขยายเครือข่ายพื้นที่ทำแปลงทดลองเพิ่มข้าวขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เพราะยังมีพี่น้องชาวนาอีกมากมายที่ยังต้องการความช่วยเหลือ ที่เห็นได้จากเกษตรกรในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงแปลงของตน หลังจากได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในนาข้าว ที่ข้าวอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ปริมาณผลผลิตเพิ่มมากขึ้น หลายคนให้ความสนใจและมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการเพิ่มข้าวอีกหลายครัวเรือน

ต่อด้วย นายสุภัค เหล่าดี ผู้จัดการทั่วไป สายงานการตลาด วิจัยและพัฒนา บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี กล่าวว่า วัตถุประสงค์หลักที่ทางบริษัทจัดตั้งโครงการเพิ่มข้าวขึ้นมา เพื่ออยากช่วยพี่น้องเกษตรกรชาวนาได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นตามมาด้วย ทางบริษัทและคณะผู้ร่วมงานทุกคนพึงพอใจกับความสำเร็จในครั้งนี้เป็นอย่างมาก ที่สามารถทำได้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ด้วยแนวความคิดต่าง

“จากกระแสข่าวในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ทั้งภาครัฐและเอกชนพยายามที่จะลดต้นทุนของเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรมีต้นทุนการปลูกข้าวที่ต่ำลง แต่เราคิดต่าง คิดสวนทางในแง่ของการปรับเปลี่ยน ที่เปลี่ยนจากการลดต้นทุน มาเป็นการเพิ่มต้นทุน แต่มีรายได้เพิ่มขึ้นจากผลผลิตที่มีมากขึ้น อันนี้เป็นจุดเริ่มต้นแนวความคิด”

คำว่า เพิ่มต้นทุน ไม่ใช่เป็นการเพิ่มต้นทุนโดยไม่มีหลักเกณฑ์ แต่เป็นการคิดคำนวณต้นทุนและผลลัพธ์ หรือผลผลิตต่อหน่วยที่จะได้กลับมาต้องคุ้มค่ากว่าเดิม เพราะถ้าหากจะมุ่งเน้นแต่การลดปัจจัยการผลิตเพียงอย่างเดียว ก็เหมือนกับการลดปัจจัยการผลิตพืชที่สำคัญออกหรือลดไม่ถูกจุด ดังนั้น พืชก็จะไม่สามารถเพิ่มผลผลิตให้ได้เหมือนกัน โดยปัจจัยการเพิ่มผลผลิตข้าว สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ 1. ปัจจัยด้านการผลิตโดยตรง เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย สารเคมี ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม ถือเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ 2. ปัจจัยทางอ้อมในส่วนของการนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมช่วยส่งเสริม หรือลดต้นทุนการผลิต ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายมากขึ้น

สามารถอธิบายเบื้องต้นได้ดังนี้ ในบางครั้งเกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์มากเกินความจำเป็น ทำให้เกิดโรคแมลงมากขึ้น และเป็นการเพิ่มต้นทุนค่าสารเคมี ดังนั้น การลดปัจจัยอย่างแรกที่ทำง่ายที่สุดคือการลดปริมาณการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวให้น้อยลง แต่มาเพิ่มระยะห่างของการเพาะปลูกให้มากขึ้น อ้างอิงจากงานวิจัยหลายแห่ง พบว่าเมื่อข้าวอยู่รวมกันแน่นจนเกินไป จะทำให้ประสิทธิภาพของการแตกกอลดน้อยลง หากปล่อยให้มีระยะห่างในการแตกกอให้ได้รับแสงอย่างทั่วถึง ข้าวจะสามารถแตกกอได้ดี มีลำต้นที่แข็งแรงสมบูรณ์ ต้านทานโรได้ดี นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เพียงแค่ลดปริมาณการหว่านเมล็ดพันธุ์ลงก็ช่วยลดต้นทุนลงได้ ในขณะที่ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินผลผลิตเพิ่ม ค่าใช้จ่ายลดลง

การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เกษตรกรควรนำมาใช้ประกอบการเพาะปลูก ทางบริษัทได้มี
1. ห้องแลปวิเคราะห์ปุ๋ยที่ได้มาตรฐานและแม่นยำ ตรงตามค่าธาตุอาหารที่พืชและดินต้องการของในแต่ละพื้นที่
2. แลปดิน หรือคลินิกดินประจำอยู่ที่โรงงาน เพื่อเปิดกว้างให้กับเกษตรกรทุกคนส่งดินมาวิเคราะห์ได้ฟรี พร้อมกับการวิเคราะห์สูตรปุ๋ยที่เหมาะกับค่าดินในแต่ละพื้นที่ให้ด้วย

“ในมุมของบริษัทเมื่อเกษตรกรเขารู้ว่าปุ๋ยที่เหมาะสมกับดินของเขาคือสูตรอะไร เราก็จะพัฒนาสูตรปุ๋ยของเราที่มีโรงงานผลิตและสามารถผลิตปุ๋ยได้หลากหลายสูตร ผลิตส่งต่อให้กับร้านค้าในชุมชน เกษตรกรก็จะได้ใช้ปุ๋ยที่ถูกสูตรตรงตามค่าดินที่วิเคราะห์ เขาก็สามารถที่จะลดต้นทุน ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยในปริมาณมาก ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยยูเรีย หรือปุ๋ยสูตรเดิมๆ ที่ใช้กันมานาน แต่ไม่เหมาะกับค่าวิเคราะห์ดินอีกต่อไป”

และปัจจัยเสริมทางอ้อมที่มีความสำคัญ คือใช้เทคโนโลยีช่วยลดต้นทุน หรือทำให้การเพาะปลูกสะดวก รวดเร็วขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้ระบบดาวเทียมสารสนเทศในการติดตามสภาพอากาศ การพยากรณ์ปริมาณฝนระยะยาวล่วงหน้า การวางแผนปลูก ติดตามสุขภาพข้าวในแปลงผ่านแอปพลิเคชัน ใบไม้ รีคัลท์ รวมถึงการร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยที่คุ้นเคยในพื้นที่ บวกกับมีงานวิจัยรองรับ ส่วนทางบริษัทเข้ามาต่อยอดเทคโนโลยีปุ๋ยในการเพิ่มหรือลดธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม ซึ่งเป็นเรื่องที่บริษัทชำนาญและมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะเข้าไปช่วยเกษตรกรได้

ผลการดำเนินโครงการเพิ่มข้าวในปีแรกถือว่าประสบผลสำเร็จไปด้วยดี จากการร่วมมือกันของทางมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวให้กับเกษตรกรได้โดยจุดเริ่มต้นของโครงการเกิดขึ้นในปี 2020 เริ่มทำ 8 แปลง จนถึงปัจจุบันมีพื้นที่ทำแปลงทดลองเพิ่มข้าวทั้งหมด 35 แปลงทั่วประเทศ และได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรในพื้นที่เป็นอย่างดี ในการให้ความสนใจเข้ามาชมแปลงสาธิตและแสดงความเห็นถึงความแตกต่างระหว่างแปลงข้าวของตนกับในแปลงสาธิตที่มีการแตกกอได้ดีกว่า เจริญเติบโต และการติดรวงมากขึ้น เมล็ดข้าวแกร่งขึ้น และมีความยาวของเมล็ดที่มากขึ้น ทำให้เกษตรกรในพื้นที่เริ่มสนใจติดตามผลลัพธ์ นำไปสู่การสร้างเกษตรกรต้นแบบ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การปลูกข้าวแบบฉบับโครงการเพิ่มข้าวให้กับคนในท้องถิ่นต่อไป

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานของท่าน และเพื่อการมอบบริการที่ดีที่สุดจากเรา กรุณากดปุ่มยอมรับ คุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานได้ที่ การตั้งค่าคุกกี้ และ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า