สาขาไม้ผล คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ สายงานการตลาด วิจัยและพัฒนา บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี
คำนำ
ลำไยจัดเป็นไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทยซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร แหล่งผลิตที่สำคัญในเขตภาคเหนือ ได้แก่
การจัดการธาตุอาหารให้เพียงพอและเหมาะสมต่อความต้องการของพืชนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยทั่วไปแล้ว หากดินได้รับการปลูกพืชมาในช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วจะทำให้ดินมีความสมบูรณ์ลดลงซึ่งจะทำให้ปริมาณธาตุอาหารภายในดินลดลง สาเหตุที่ทำให้ปริมาณธาตุอาหารในดินลดลง เช่น ติดไปกับผลผลิต ใบและกิ่งที่ร่วง และถูกตัดแต่ง สูญเสียไปกับน้ำที่ไหล่บ่าไปตามพื้นดินหรือซึมลงสู่ใต้พื้นดินลึกเกินกว่าระดับราก สูญเสียเนื่องจากการเกิดปฏิกิริยาเคมีของดิน ซึ่งมักจะเกิดจากการใช้ปุ๋ยที่ไม่ถูกต้องจนทำให้ดินมีสภาพที่ไม่เหมาะสมส่งผลให้พืชไม่สามารถดูดธาตุอาหารได้ (Yan, 2002)
ธาตุอาหารมีอิทธิพลต่อการผลิใบ การออกดอก การเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต Li et al. (2001) รายงานว่าถ้าไนโตรเจนในใบสูง การแตกใบจะมีมากขึ้นทำให้การออกดอก และผลผลิตลดลง แต่ปริมาณไนโตรเจนกับการออกดอก อาจจะเกิดจากพันธุ์ สภาพพื้นที่ ปริมาณอาหารในดินและสภาพภูมิอากาศในช่วงการให้ปุ๋ยแตกต่างกัน นอกจากนี้ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมยังมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช เมื่อพืชได้รับธาตุอาหารน้อยกว่าปริมาณที่ต้องการอาจมีผลต่อการเจริญเติบโต (ศรีสม, 2547) การศึกษาความต้องการธาตุอาหารในลำไยทรงพุ่มขนาด 5 เมตร พบว่าความต้องการธาตุไนโตรเจนก่อน และหลังตัดแต่งกิ่งลำไยคือ 96.4 และ 57.9 กรัมต่อต้น ส่วนฟอสฟอรัส คือ 4.6 และ 7.7 กรัมต่อต้น และโพแทสเซียม 60.3 และ 36.2 กรัมต่อต้นตามลำดับ (ยุทธนา และคณะ, 2544) การให้ธาตุอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอกับความต้องการของพืชสามารถช่วยเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตได้ ดังนั้นจึงได้มีงานวิจัยนี้เพื่อเป็นการศึกษาอัตราในการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตลำไยนอกฤดู
อุปกรณ์และวิธีการ
การศึกษาอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตลำไยนอกฤดู ณ แปลงลำไยสาขาไม้ผล (บ้านโปง) ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ สภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ (ตารางที่ 1) ต้นลำไยมีอายุ 7-9 ปี มีทรงพุ่ม 2 ขนาดคือ 3-4 เมตร และ 5-6 เมตร จึงวางแผนการทดลองแบบ RCBD โดยมี 7 กรรมวิธีๆ ละ 5 ซ้ำๆ ละ 1 ต้น รวมเป็น 35 ต้น
การใส่ปุ๋ยโดยการหว่านเม็ดปุ๋ยใต้ทรงพุ่มเดือนละ 1 ครั้ง โดยใส่ปุ๋ยอัตรา 400 กรัมต่อขนาดทรงพุ่ม 3-4 เมตร และอัตรา 800 กรัม
ต่อขนาดทรงพุ่ม 5-6 เมตร ซึ่งระยะฟื้นต้น ระยะกระตุ้นการเกิดดอก และระยะก่อนการเก็บเกี่ยว มีระยะเวลา 1 ครั้ง ระยะติดผลอ่อน มีระยะเวลา 3 ครั้ง และก่อนการทดลองทำการราดสารโพแทสเซียมคลอเรต อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อกระตุ้นการออกดอกนอกฤดูของลำไย
ผลการวิจัยและวิจารณ์
การออกดอกและการติดผล
การใส่ปุ๋ยทุกกรรมวิธีของลำไยนอกฤดู พบว่าไม่มีความแตกต่างกันของขนาดช่อดอก และจำนวนช่อดอกลำไย (ตารางที่ 3) แต่มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญของจำนวนผลต่อช่อของลำไย พบว่ากรรมวิธีที่มีจำนวนผลต่อช่อมากที่สุดคือ T6 มี 32.20 ผลต่อช่อ รองลงมา คือ T4 มี 30.57 ผลต่อช่อ และ T5 มี 29.00 ผลต่อช่อ และไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติ ในส่วนของน้ำหนักช่อผล ความกว้างและความยาวช่อผลลำไย (ตารางที่ 3) น้ำหนักช่อผลที่มีแนวโน้มมากที่สุด คือ T6 เท่ากับ 284.50 ส่วนความยาวช่อดอกที่มีแนวโน้มมากที่สุด คือ T3 เท่ากับ 28.60 เซนติเมตร T5 มีแนวโน้มจำนวนช่อดอกต่อต้นมากที่สุดเท่ากับ 263.20 ช่อ
การบันทึกข้อมูลดำเนินการดังนี้ ช่อดอกลำไย ทำการสุ่มวัด 20 ช่อต่อต้น โดยความกว้างช่อดอกลำไยวัดได้จากด้านที่กว้างที่สุด
และความยาวช่อดอกวัดได้จากโคนช่อจนถึงปลายช่อดอกลำไยเมื่อดอกบานเต็มที่ และนับจำนวนช่อดอกลำไยทั้งหมดต่อต้น ช่อผลลำไย ทำการสุ่มวัด 20 ช่อต่อต้น ในระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยความกว้างช่อผลลำไยวัดจากด้านที่กว้างที่สุดและความยาวช่อผลลำไยจากโคนช่อจนถึงปลายช่อผลลำไย จากนั้นนับจำนวนผลลำไยต่อช่อและชั่งน้ำหนักช่อผลลำไย ปริมาณและคุณภาพผลผลิต ทำการชั่งน้ำหนักผลผลิตต่อต้น และทำการสุ่มผลลำไยจำนวน 50 ผลต่อต้น บันทึกข้อมูลน้ำหนักผล น้ำหนักเมล็ด น้ำหนักเปลือก และน้ำหนักเนื้อ โดยใช้เครื่องชั่งแบบดิจิตอล วัดขนาดผล ความกว้างผล ความยาวผล ความสูงผล ความกว้างเมล็ด ความยาวเมล็ด ความสูงเมล็ด ความหนาเปลือก และความหนาเนื้อโดยใช้เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์แบบดิจิตอล และวัดปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (Total Soluble Solid, TSS) ด้วยเครื่อง Digital reflectometer การวิเคราะห์ข้อมูล ดำเนินการโดยวิเคราะห์ความแปรปรวน (analysis of variance) ของผลการทดลองตามแผนการทดลองแบบ RCBD และมีการเปรียบเทียบความแตกต่างกันทางสถิติโดยวิธีการ Duncan’s Multiple Range Test (DMRT)
คุณภาพผลผลิต
ขนาดผล ขนาดเมล็ด ความหนาเปลือก และความหนาเนื้อลำไย การใส่ปุ๋ยต้นลำไยในทุกกรรมวิธี พบว่าไม่มีผลต่อขนาดผล ขนาดเมล็ดในด้านของความกว้าง ความยาว และความสูง ส่วนความหนาเปลือก และความหนาเนื้อลำไย พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (ตารางที่ 4) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Rai et al. (2002) โดยทดลองอิทธิพลของปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม พบว่าไม่มีผลต่อคุณภาพผลผลิต น้ำหนักผลและน้ำหนักเปลือก นอกจากนี้ Khosumain et al. (2013) ได้กล่าวว่าการให้ไนโตรเจนมากกว่า 160 กรัม หรือ 2 เท่าของผลผลิตที่สูญเสียไปจะมีผลทำให้ขนาดผล น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งลดลง ส่วนน้ำหนักผล เปลือก เนื้อ เมล็ด และปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ ผลลำไยเมื่อนำมาแยกส่วนของเปลือก เนื้อ และเมล็ด พบว่าน้ำหนักผล เปลือก เนื้อ และน้ำหนักเมล็ด ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในการใส่ปุ๋ยทุกกรรมวิธี กรรมวิธี T2 มีแนวโน้มของความหนาเนื้อมากที่สุดเท่ากับ 12.69 มิลลิเมตร รองลงมาคือ T6 และ T5 ตามลำดับ ส่วนปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ของผลที่ได้รับปุ๋ยทุกกรรมวิธีพบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (ตารางที่ 5)
สรุปผลการวิจัย
จากผลการศึกษาแนวทางการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพของการผลิตลำไยนอกฤดู โดยการเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยทั้ง 7 กรรมวิธีในครั้งนี้ พบว่าการใช้ปุ๋ยทั้ง 7 กรรมวิธี ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติผลต่อการออกดอก การติดผล และคุณภาพ ส่วนผลผลิตลำไยต่อต้น ความหนาของเนื้อลำไย และ ค่า°Brix(ความหวาน) แนวทางการใช้ปุ๋ย T3 คือระยะฟื้นต้นสูตร15-15-15, ระยะกระตุ้นการเกิดดอกสูตร 12-24-21, ระยะติดผลอ่อนสูตร 12-9-21, และระยะบำรุงผลก่อนเก็บเกี่ยวสูตร 9-24-24) มีแนวโน้มผลผลิตสูงที่สุดเท่ากับ 46.28 กิโลกรัมต่อต้น ความหนาเนื้อเท่ากับ 12.69 มิลลิเมตร และความหวานเท่ากับ 21.68 % °Brix ตามลำดับ
เอกสารอ้างอิง
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2561. ไม้ผลภาคเหนือ.
แหล่งข้อมูล https://www.moac.go.th/news-preview
-401291791038?fbclid=IwAR0aOLsPTOQy1UfHiXk1T_TBgy4RTjKBhnuu5MeLeJbCYktE0MkckSISrkY
(25 มีนาคม 2562). - ชิติ ศรีตนทิพย์ ยุทธนา เขาสุเมรุ และสันติ ช่างเจรจา. 2554.
อิทธิพลของระดับไนโตรเจนที่ต่างกันต่อปริมาณคลอโรฟิลล์
และไนโตรเจนในใบของลำไย. วารสารวิจัยและส่งเสริม
วิชาการเกษตร 28(2): 19-24. - ยุทธนา เขาสุเมรุ ชิติ ศรีตนทิพย์ และสันติ ช่างเจรจา. 2544.
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการแก้ปัญหาต้นโทรมของลำไยความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารในดินและต้นลำไย
กับการแสดงอาการโทรม. รายงานต่อ สกว. ลำปาง:
สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง สถาบัน
เทคโนโลยีราชมงคล. - ศรีสม สุวรรณวงศ์. 2547. การวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช.
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. การผลิตลำไย
ของไทย ปี 2558-2560 ผลผลิตรายเดือนไตรมาส 4. แหล่งข้อมูล - http://aginfo.oae.go.th/oae_today/report_product.php?product_name=lumyai.xls&fbclid=IR1m-dasehWXXDv8v5unIRNpwGjqZs50lBgA6GWriH1dxQSlpeclFb068wE (25 มีนาคม 2562).
- Changthom, A. and S. Chaikul. 2016. Study on NPK
fertilizer rate on flowering and yield of longan
(Dimocarpus longan Lour.) in Chanthaburi province. J. Agri. Tech. 12 (7.1): 1399-1408. - Khaosumaim, Y., C. Sritontip and S. Changjeraja. 2013. Effect of difference nitrogen fertilizer doses growth, leaf nutrient concentration, flowering and fruit quality in off-season longan. Acta Hort. 984: 271-274.
- Li. Y. C., T. L. Davenport R. Rao and Q. Zheng. 2001. Nitrogen flowering and production of lychee in Florida. Acta Hort. 322: 37-44.
- Rai, Mathura., P Dey, KK Gangopadhyay, Bikash Das, Vishal Nath, NN Reddy and HP Singh. 2002. Influence of nitrogen, phosphorus and potassium on growth
parameters, leaf nutrient composition and yield of litchi (Litchi chinensis). J.Agri. Sci 72(5): 267-70. - Senanan, C., S. Ongprasert, P. Manochai and
S. Ussahatanonta. 2010. The response of longan trees to training ststem and fertilizer management. Acta Hort. 863: 351-356. - Yan, D. 2002. Longan improving yield and quality. N.P: Department of Primary Industries. Queensland Horticulture Institute.