การพัฒนาแนวทางการใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มคุณภาพและผลผลิตสำหรับถั่วเหลืองฝักสด (ถั่วแระญี่ปุ่น)

สายงานการตลาด วิจัยและพัฒนา
บริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน)

ที่มาและความสำคัญ

ถั่วเหลืองฝักสด หรือถั่วแระญี่ปุ่นเป็นสินค้าส่งออกในรูปฝักสดแช่แข็งที่ทำรายได้เข้าประเทศจำนวนมาก นอกจากนี้บางส่วนยังนำมาใช้บริโภคภายในประเทศ โดยเป็นพืชอาหารโปรตีนที่สำคัญชนิดหนึ่งที่ประชาชนในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นิยมปลูกและบริโภค ประกอบด้วยใยอาหาร คาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามิน A, C และ E อีกทั้งยังมีกลิ่นหอม และในปัจจุบันได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น

ถั่วแระญี่ปุ่น เป็นถั่วเหลืองที่มีฝักชนาตใหญ่ บริโภคเมล็ตในระยะเมล็ดเต่งเต็มที่แต่ฝักยังมีสีเขียวอยู่อายุเก็บเกี่ยวฝักสดประมาณ 65 วัน หลังจากหยอตเมล็ต ฝักที่ต้มาตรฐานส่งตลาดญี่ปุ่นจะต้องมีเมล็ตตั้งแต่ 2 เมล็ดขึ้นไปความยาวฝักไม่น้อยกว่า 4.5 เซนติเมตร ฝัก 1 กิโลกรัมมีจำนวนฝักไม่เกิน 350 ฝัก และไม่มีรอยตำหนิใด ๆ บนฝัก ลำตันเป็นฟูมเตี้ย มี 7-10 ข้อ และแขนง 2-3 แขนง เมล็ตพันธุ์มีซนาตใหญ่โดยเมล็ต 1 00 เมล็ดจะมีน้ำหนักประมาณ25-35 กรัม ส่วนใหญ่บริโภคฝักสดเป็นอาหารว่างโดยต้มทั้งฝัก ในน้ำเตือดใช้ระยะเวลาสั้นเพียง 5-6นาทีโรยเกลือเล็กน้อย เพื่อเพิ่มรสชาติ หรือแกะเมล็ดออกจากฝักนำมาประกอบอาหารไต้หลายชนิด เช่น ผัดกับกุ้ง แกงส้ม ข้าวผัด และ ใช้แทนถั่วสันเตากระป้องได้เป็นอย่างตี

ในปี 2563 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองฝักสดจำนวน 7 98 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 1,067 กิโลกรัม/ไร่ ทั้งนี้พื้นที่ปลูกถั่วเหลืองฝักสดที่สำคัญในประเทศไทย ได้แก่ เชียงราย เชียง ใหม่ พะเยา อุทัยธานี ลำปาง ล่พูน เป็นต้น การผลิตถั่วเหลืองผักสดให้ได้ผลผลิตสูงและคุณภาพตีจำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาด้วยการใส่ปุ๋ย ให้ต้นถั่วแระมีความสมบูรณ์เต็มที่ ดังนั้นทางแผนกพัฒนาผลิตภัณฑ์ สายงานการตลาด วิจัยและพัฒนา บริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน) จึงดำเนินการจัดทำแปลงสาธิตโครงการพืชหลังนา เพื่อพัฒนาแนวทางการใช้ปุ๋ยสำหรับถั่ว

 

อุปกรณ์ และวิธีการทดลอง

ทำการทดลอง ณ แปลงเกษตรกรในพื้นที่ ตําบลทุ่งโพ อําเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี ดำเนินการเก็บตัวอย่างดินก่อนการทดลองพบว่า ดินมีความเป็นกรดจัดมาก มีอินทรียวัตถุอยู่ในระดับต่ำ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับสูง โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้อยู่ในระดับต่ำ (ตารางที่ 1) โดยกรรมวิธีในการทดลองประกอบด้วย

1.แนวทางการใช้ปุ๋ยของบริษัทฯ
ครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ยสูตร 16-8-8 พลังหนึ่ง อัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่
ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 พรีเมี่ยม อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่
ครั้งที่ 3 ใส่ปุ๋ยสูตร 12-9-21 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่

2.แนวทางการใช้ปุ๋ยของเกษตรกร

 

ตารางที่ 1 แสดงปริมาณผลวิเคราะห์ดินแปลงสาธิตการพัฒนาแนวทางการใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มคุณภาพและผลผลิตสำหรับถั่วเหลืองฝักสด (ถั่วแระญี่ปุ่น) ตําบลทุ่งโพ อําเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล
เก็บตัวอย่างดินก่อนการทดลองเพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของดิน ใส่ปุ๋ยเคมีตามกรรมวิธีการทดลอง เก็บข้อมูลการเจริญเติบโต ได้แก่ ความสูงและความกว้างของทรงพุ่ม ข้อมูลผลผลิต ได้แก่ จำนวนฝักต่อหลุม ผลผลิตต่อไร่ คำนวณต้นทุน และกำไรสุทธิของผลผลิต

ผลและวิจารณ์ผลการทดลอง

การเจริญเติบโต
จากผลการทดลองพบว่าความสูงและขนาดทรงพุ่มภายใต้แนวทางการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรมีแนวโน้มสูงกว่าแนวทางบริษัทฯ (รูปที่ 1) ความสูงและขนาดทรงพุ่มแนวการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรเท่ากับ 58.3 และ 100.1 เซนติเมตร ตามลำดับ ความสูงและขนาดทรงพุ่มแนวการใช้ปุ๋ยของบริษัทฯ เท่ากับ 56.9 และ 94.4 เซนติเมตร ตามลำดับ


รูปที่ 1 ความสูงและขนาดทรงพุ่ม (เซนติเมตร) ภายใต้แนวทางการใส่ปุ๋ยที่แตกต่างกัน

 

ผลผลิต

จากผลการทดลองพบว่าจำนวนฝักต่อหลุมภายใต้แนวทางการใช้ปุ๋ยของบริษัทฯ มีแนวโน้มสูงกว่าแนวทางของเกษตรกร (รูปที่ 2a) เท่ากับ 35.4 และ 30.6 ฝักต่อหลุม ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณผลผลิตพบว่าผลผลิตภายใต้แนวทางการใช้ปุ๋ยของบริษัทฯ มีแนวโน้มสูงกว่าแนวทางของเกษตรกร (รูปที่ 2b) เท่ากับ 1,450 และ 1,239 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ทั้งนี้แนวทางการใช้ปุ๋ยของบริษัทฯ มีการใช้ปุ๋ยสูตร 12-9-21 ในครั้งที่ 3 ซึ่งมีปริมาณธาตุอาหารโพแทสเซียมค่อนข้างสูง โดยธาตุโพแทสเซียมเป็นธาตุอาหารที่ช่วยส่งเสริมการสะสมและการเคลื่อนย้ายธาตุอาหาร ซึ่งจะส่งผลให้กระตุ้นการสร้างผลผลิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


รูปที่ 2 จำนวนฝักต่อหลุมและผลผลิตต่อไร่ภายใต้แนวทางการใส่ปุ๋ยที่แตกต่างกัน

 

 

ต้นทุนและกำไรสุทธิ

จากผลการทดลองพบว่าต้นทุนต่อไร่ภายใต้แนวทางการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรมีแนวโน้มสูงกว่าแนวทางการใช้ปุ๋ยของบริษัทฯ มีต้นทุนต่อไร่เท่ากับ 10,445 และ 10,015 บาท ตามลำดับ ในขณะที่ผลกำไรสุทธิภายใต้แนวทางการใช้ปุ๋ยของบริษัทฯ มีแนวโน้มสูงกว่าการใช้ปุ๋ยตามแนวทางของเกษตรกร มีกำไรสุทธิต่อไร่เท่ากับ 14,641 และ 10,612 บาท ตามลำดับ (รูปที่ 3)


รูปที่ 3 ต้นทุนและกำไรสุทธิ (บาท/ไร่) ภายใต้แนวทางการใส่ปุ๋ยที่แตกต่างกัน

 

สรุปผลการทดลอง

1.การใช้ปุ๋ยตามแนวทางของเกษตรกรส่งผลให้การเจริญเติบโต ได้แก่ ความสูง และขนาดทรงพุ่ม มีแนวโน้มสูงกว่าการใช้ปุ๋ยตามแนวทางของบริษัทฯ
2.การใช้ปุ๋ยตามแนวทางของบริษัทฯ มีแนวโน้มให้ผลผลิตและกำไรสุทธิสูงกว่าการใช้ปุ๋ยตามแนวทางของเกษตรกร

 

ที่มาของข้อมูล: พรพรรณ สุทธิแย้ม และคณะ(2665), วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และโครงการผลิตเอกสารเผยแพร่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานของท่าน และเพื่อการมอบบริการที่ดีที่สุดจากเรา กรุณากดปุ่มยอมรับ คุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานได้ที่ การตั้งค่าคุกกี้ และ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า